Populist Becoming: The Red Shirt Movement and Political Affliction in Thailand
Abstract
In this article, I explore the ways in which political subjectivities take shape through populist mobilization and dissipation. While the rise and increasing electoral success of populist movements across the world are largely attributed to charismatic leadership that conjures the will of “the people,” much less known is how people become populist subjects at a particular historical juncture. By attending to personal accounts of participation and detachment in a mass movement known as the Red Shirts in Thailand, I explore how the politics of becoming that emerges from this movement obfuscates the conventional distinction between populist and democratic identification. The articulation of populist subjects’ aspiration and affliction provides a window into the undetermined aspects of political mobilization from the realm of the ordinary.
บทคัดย่อ
ในบทความนี้ ข้าพเจ้ามุ่งศึกษาแนวทางการก่อร่างสร้างอัตวิสัยทางการเมือง ผ่านการมีส่วนร่วมในการเคลื่อนไหวแบบประชานิยมตลอดจนการสลายตัวของการเคลื่อนไหวดังกล่าว ในแง่หนึ่ง ความสำเร็จในการเลือกตั้งที่พบได้ในหลายประเทศทั่วโลก มาจากการเคลื่อนไหวแบบประชานิยม ซึ่งโดยมากมักจะกล่าวถึงผู้นำที่มีเอกลักษณ์ มีความสามารถในการชักจูงโน้มน้าว และสามารถตอบสนองต่อความต้องการของ “มวลชน” อย่างไรก็ตาม การศึกษาเกี่ยวกับปัจเจกหรือผู้ที่เข้าร่วมการเคลื่อนไหวแบบประชานิยมผ่านห้วงวิกฤตการณ์หรือการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองนั้นยังมีน้อย ในการศึกษานี้ ข้าพเจ้าอาศัยเรื่องราวและประสบการณ์ของผู้ที่มีส่วนร่วมในการเคลื่อนไหวทางการเมืองของกลุ่มคนเสื้อแดงในประเทศไทยจนกระทั่งปลีกตัวออกจากการเคลื่อนไหวดังกล่าว เพื่อสำรวจการเมืองของการกลายเป็น (Politics of Becoming) ที่เกิดขึ้นภายในบริบทการเคลื่อนไหวแบบประชานิยม ทั้งนี้ ข้อค้นพบของข้าพเจ้าทำให้ความเข้าใจต่อแนวคิดเดิมที่แบ่งแยกขั่วกลุ่มอัตลักษณ์ทางการเมืองแบบประชานิยมออกจากกลุ่มอัตลักษณ์ทางการเมืองแบบประชาธิปไตยนั้นสับสนยิ่งขึ้น ข้าพเจ้าเสนอให้เราทำความเข้าใจกับความสับสนดังกล่าว รวมถึงปฏิเสธการมองว่าความหลากหลาย ไม่เป็นระเบียบ ทวิลักษณ์ของความหมาย และมิติทางอารมณ์ความรู้สึกของผู้ที่มีส่วนร่วมในการเคลื่อนไหวแบบประชานิยมนั้น เป็นปัญหาที่ต้องได้รับการเยียวยาแก้ไข หากแต่ภาวะดังกล่าวเป็นลักษณะสำคัญที่ชี้ให้เห็นว่าประชานิยมมีส่วนในการก่อร่างสร้างอัตวิสัยแบบใหม่ การทำความเข้าใจกับความมุ่งหวัง ความปราถนา และความบอบช้ำของผู้ท่ีมีส่วนร่วมในการเคลื่อนไหวดังกล่าว อาจเป็นหนทางที่จะช่วยให้เราทำความเข้าใจกับแง่มุมใหม่ๆ เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวทางการเมือง จากปริมณฑลของคนธรรมดาสามัญ [อัตวิสัยทางการเมือง การเคลื่อนไหวมวลชน ความบอบช้ำ ประชานิยม การกลายเป็น คนเสื้อแดง ประเทศไทย]
국문초록
본 논문은 포퓰리즘 운동의 확대와 해소 과정에서 정치적 주체성이 만들어지는 다양한 양상을 탐구한다. 포퓰리즘 정치의 전세계적 성장과 선거 정치에서 커져가는 영향력은 흔히 대중 혹은 인민의 의지를 결집시킬 수 있는 카리스마적 지도자의 성공과 등치되어 왔다. 그러나 과연 어떻게 대중 혹은 인민이 특정한 역사적 시점에서 포퓰리스트가 되는가에 대해서는 충분한 논의가 이루어지지 못한 바 있다. 이러한 문제의식을 바탕으로 본 논문은 태국 레드셔츠 운동의 흥망성쇠를 경유한 한 개인의 삶 경험을 탐색하고, 이를 통해 대중 운동에 기반한 되기(becoming)의 정치가 포퓰리즘과 민주주의에 대한 관습적 구분을 흐트러트리는 양상에 주목한다. 포퓰리스트 주체성을 고무하는 복잡한 정동과 의미들은 민주주의 정치를 저해하는 병폐가 아니며, 역으로 정치적 주체성의 새로운 형식들이 만들어지고 작동하는 방식을 핵심적으로 보여준다. 포퓰리스트 주체들의 변화에 대한 열망과 수난의 경험은 일상의 영역에서부터 정치적 동원의 아직 결정되지 않은, 불확정적 속성을 드러낸다.
Keywords
political subjectivity; mass mobilization; affliction; populism; becoming; Red Shirts; Thailand; อัตวิสัยทางการเมือง; การเคลื่อนไหวมวลชน; ความบอบช้ำ; ประชานิยม; การกลายเป็น; คนเสื้อแดง; ประเทศไทย; 정치적 주체성; 대중 운동; 수난; 포퓰리즘; 되기의 정치; 레드셔츠; 태국